วันอังคารที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 8

บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   23  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  8  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.



หมายเหตุ : เนื่องจากวันนี้ไม่มีการเรียนสอนเพราะสอบกลางภาคคะ




วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 7

บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   16  กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  7  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


ความรู้ที่ได้รับ

-วันนี้อาจารย์ใจดีไม่มีการเรียนการสอน เพราะเนื่องจากวันนี้ทุกคนตั้งใจทำเซอร์ไพร์สวันเกิดอาจารย์เบียร์และตั้งใจที่จะเรียน

-สุขสันต์วันเกิดนะค่ะ อาจารย์เบียร์ที่น่ารักของพวกหนู มีความสุขมากๆนะคะ สุขภาพร่างกายแข็งแรง น่ารักมุ้งมิ้งแบบนี้ตลอดไป #รักอาจารย์นะค่ะ



บรรยากาศภายในห้อง


เป่าๆ เพื่ออาจารย์เบียร์ที่รัก



คลิป



เย้ๆHBD คะอาจารย์เบียร์

น่ารักมุ้งมิ้ง



การประเมิน

ประเมินตัวเอง 
- วันนี้ตั้งใจเข้าห้องเรียนตั้งแต่ 11 โมงเพื่อที่จะจัดโต๊ะและรอเพื่อนๆมานั่งเป่าลูกโป่งกันแล้วรอเซอร์ไพร์สอาจารย์ค่ะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆมากันตรงตามเวลาที่นัดกันและตั้งใจกันมากที่จะเป่าลูกโป่งเขียนกระดาษวาดรูปภาพข้อความและร้องเพลงHBDให้แด่อาจารย์

ประเมินอาจารย์
-อันแรกเลยที่เห็นอาจารย์เข้ามาในห้องรู้สึกตื่นเต้นแทนอาจารย์คะ555 ลูกโป่งเต็มเลย อาจารย์น่ารักมากเหมือนเจ้าชายที่มีคนรอบๆอยู่ข้างๆมองแววตาอาจารย์อาจารย์น้ำตาไหลและซึ่งที่ทำให้เห็นอาจารย์ยิ้มตลอดเลยอยากให้อาจารย์มีความสุขหัวเราะแบบนี้ตลอดไป



วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 6


บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   9 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  6  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.



ความรู้ที่ได้รับ

กิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียน

อุปกรณ์การทำกิจกรรม กระดาษ1แผ่น ถุงมือ
ภาพซ้ายมือใส่ถุงมือ         ภาพขวามือสเก็ตภาพมือเสมือนจริง

:จากภาพและการทำกิจกรรมได้ฝึกสายตาและฝึกการจดจำมือของตัวเองว่ามีลักษณะอย่างไรบ้างเวลาเราใส่ถุงมือกับไม่ใส่ถุงมือมีความ แตกต่างกันมากแค่ไหนและสามารถสเก็่ตภาพวาดออกมาได้เหมือนรึเปล่า ก็เช่น การจดจำเด็กและการสังเกตเด็กเราจะสังเกตแค่ตาไม่ได้จะต้องมีการจดบันทึกรายละเอียดของเด็กให้ดีและทุกๆครั้งที่มีการสังเกตจะได้ข้อมูลที่เสมือนจริง




วันนี้เรียนเรื่อง การสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ
ทักษะของครูและทัศนคติ
การฝึกเพิ่มเติม
-อบรมระยะสั้น , สัมมนา
-สื่อต่างๆ
การเข้าใจภาวะปกติ
-เด็กมักคล้ายคลึงกันมากกว่าแตกต่าง
-ครูต้องเรียนรู้ , มีปฎิสัมพันธ์กับเด็กปกติและเด็กพิเศษ
-รู้จักเด็กแต่ละคน
-มองเด็กให้เป็น เด็ก

การคัดแยกเด็กที่มีพัฒนาการช้า
-การเข้าใจพัฒนาการของเด็ก จะช่วยให้ครูสามารถมองเห็นความแตกต่างของเด็กแต่ละคนได้ง่าย

ความพร้อมของเด็ก
-วุฒิภาวะ
-แรงจูงใจ
-โอกาส

การสอนโดยบังเอิญ
-ให้เด็กเป็นฝ่ายเริ่ม
-เด็กเข้าหาครูมากเท่าไหร่   ยิ่งมีโอกาสในการสอนมากขึ้นเท่านั้น
 -ครูต้องพร้อมที่จะพบเด็ก

อุปกรณ์
-มีลักษณะง่ายๆ
-ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง
-เด็กพิเศษได้เรียนรู้จากการสังเกตและเลียนแบบเด็กปกติ
-เด็กปกติเรียนรู้ที่จะให้ความช่วยเหลือเด็กพิเศษ

ตารางประจำวัน
-เด็กพิเศษไม่สามารถยอมรับการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ทำอยู่เป็นประจำ
-กิจกรรมต้องเรียงลำดับเป็นขั้นตอนและทำนายได้
-เด็กจะรู้สึกปลอดภัยและมั่นใจ
-การสลับกิจกรรมที่อยู่เงียบๆกับกิจกรรมที่เคลื่อนไหวมากๆ
-คำนึงถึงความพอเหมาะของเวลา

ทัศนคติของครู
ความยืดหยุ่น
-การแก้แผนการสอนให้เหมาะสมกับสถานการณ์
-ยอมรับขอบเขตความสามารถของเด็ก
-ครูต้องตอบสนองต่อเป้าหมายที่สำคัญที่สุดสำหรับเด็กแต่ละคน

การใช้สหวิทยาการ
-ใจกว้างต่อคำแนะนำของบุคคลในอาชีพอื่นๆ
-สร้างความสัมพันธ์ระหว่างการบำบัดกับกิจกรรมในห้องเรียน

การเปลี่ยนพฤติกรรมและการเรียนรู้
-เด็กทุกคนสอนได้
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะไร้ความสามารถ
-เด็กเรียนไม่ได้เพราะขาดโอกาส

เทคนิคการให้แรงเสริม
แรงเสริมทางสังคมจากผู้ใหญ่
-ความสนใจของผู้ใหญ่ที่มีต่อเด็กนั้นสำคัญมาก
-มีแนวโน้มจะเพิ่มพฤติกรรมที่ดีของเด็ก และมักเป็นผลในทันที
วิธีการแสดงออกถึงแรงเสริมจากผู้ใหญ่
-ตอบสนองด้วยวาจา
-การยืนหรือนั่งใกล้เด็ก
-พยักหน้ารับ ยิ้ม ฟัง

หลักการให้แรงเสริมในเด็กปฐมวัย
-ครูต้องให้แรงเสริมทันทีที่เด็กมีพฤติกรรมอันพึงประสงค์
-ครูต้องละเว้นความสนใจทันทีและทุกครั้งที่เด็กแสดงพฤติกรรมที่ไม่พึ่งประสงค์
-ครูควรให้ความสนใจเด็กนานเท่าที่เด็กมีพฤติกรรมที่พึ่งประสงค์
การแนะนำหรือบอกบท (prompting)
-ย่อยงาน
-ลำดับความยากง่ายของงาน
-การลำดับงานเป็นการเสริมแรงเพื่อให้เด็กค่อยๆก้าวไปสู่ความสำเร็จ

ขั้นตอนการให้แรงเสริม
-สังเกตและกำหนดจุดมุ่งหมาย
-วิเคราะห์งาน กำหนดจุดประสงค์ย่อยๆในงานแต่ละขั้น
-สอนจากง่ายไปยาก
-ให้แรงเสริมทันทีเมื่อเด็กทำได้ หรือเมื่อเด็กพยายามอย่างเหมาะสม

การกำหนดเวลา
-จำนวนและความถี่ของแรงเสริมที่ให้กับพฤติกรรมการเรียนรู้ของเด็กต้องมีความเหมาะสม
ความต่อเนื่อง
-พฤติกรรมทุกๆอย่างในชีวิตประจำวันต่อเนื่องกันระหว่างพฤติกรรมย่อยๆ หลายๆอย่างรวมกัน
เช่น การเข้าห้องน้ำ การนอนพักผ่อน การหยิบและเก็บของ การกลับบ้าน
-สอนแบบก้าวไปข้างหน้า หรือย้อนมาจากข้างหลัง

เด็กตักซุป
-การจับช้อน
-การตัก
-การระวังไม่ให้น้ำในช้อนหกก่อนจะเข้าปาก
-การเอาช้อนและซุปเข้าปากแทนที่จะทำให้หกรดคาง

การลดหรือหยุดแรงเสริม
-ครูจะงดแรงเสริมกับเด็กที่มีพฤติกรรมไม่เหมาะสม
-ทำอย่างอื่นและไม่สนใจเด็ก
-เอาอุปกรณ์หรือขอเล่นออกไปจากเด็ก


การนำไปใช้
1.สามารถนำทัศนคติของครูไปปรับใช้กับเด็กได้เวลาเราไปเป็นครู
2.สามารถรู้จักการแรงเสริมด้วยการมีความสนใจเด็กและดูเด็กสังเกตเด็กขณะทำกิจกรรม





 การประเมินผล

ประเมินตนเอง
-วันนี้เปิดเรียนสัปดาห์แรกในการเรียนรู้สึกง่วงนิดหน่อยและเพลียๆวันนี้เข้าเรียนช้าไปหน่อยแต่อาจารย์ก็ยังปั้มตัวปั้มให้ และ ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องตอบคำถามบ้างบางเวลาและตั้งใจร้องเพลง

ประเมินเพื่อน
-เพื่่อนๆ บางคนก็มาเรียนสายแต่อาจารย์ก็ไม่ว่าอะไร เพื่อนอาจจะติดธุระแต่เพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและตั้งใจทำกิจกรรมภายในห้องเรียนและฟังและจดบันทึกคำพูดมีการพูดจาโต้ตอบกับอาจารย์เวลาอาจารย์ถามแล้วร่วมกันร้องเพลงทำให้ร้องเพลงออกมาดีอาจารย์ชื่นชม

ประเมินอาจารย์
-อันดับแรกเลยอาจารย์แต่งกายสุภาพเรียบร้อย เข้าสอนตรงเวลา มีกิจกรรมมาให้ทำก่อนเข้าสู่บทเรียนทำให้ไม่เครียดและตื่นเต้นเวลาลุ้นว่าจะทำกิจกรรมอะไรจะเชื่อมโยงเข้าสู่บทเรียนและวันนี้เรียนเรื่องการสอนเด็กพิเศษและเด็กปกติ อาจารย์มีการยกตัวอย่างเพื่อนภายในห้องว่าเป็นเด็กพิเศษและเด็กปกติว่ามีพฤติกรรมแบบไหนทำให้เข้าใจได้ง่ายมากขึ้นและยกตัวอย่างในสไลค์ให้ดูและเวลาอาจารย์พูดแต่ละสไลค์อาจารย์มีการอธิบายที่ละเอียดและเข้าใจก่อนเข้าสู่สไลค์ต่อไปและมีเทคนิคและแนวทางการสอนร้องเพลงที่ง่ายๆและสามารถร้องได้แล้วสามารถเอาไปบำบัดเด็กได้จริงและท้ายคาบอาจารย์มีการทดสอบหลังเรียนแต่วันนี้ให้ช่วยกันตอบสิ่งที่เรียนมาตามหัวข้อที่อาจารย์ถาม







วันอังคารที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 5

บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   2 กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  5  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.



หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากอาจารย์ไปประชุมค่ะ