วันเสาร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 17

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 28  เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่  17  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ความรู้ที่ได้รับ



 วันนี้เรียนเรื่องโปรแกรมการศึกษาเฉพาะบุคคล
(Individualized Education Program)

แผน IEP
-แผนการศึกษาที่ร่างขึ้น
-เพื่อให้เด็กพิเศษแต่ละคนได้รับการสอน และการช่วยเหลือฟื้นฟูให้
-เหมาะสมกับความต้องการและความสามารถของเขา
-การจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็ก
-โดยระบุเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดการใช้แผนและวิธีการวัดประเมินผลเด็ก
การเขียนแผน IEP
-คัดแยกเด็กพิเศษ
-ครูต้องรู้ว่าเด็กมีปัญหาอะไร
-ประเมินพัฒนาการเด็กเป็นระยะ จะทำให้ทราบว่าจะต้องเริ่มช่วยเหลือเด็กจากจุดไหน ในทักษะใด
IEP ประกอบด้วย
-ข้อมูลส่วนตัวของเด็ก
-ระบุว่าเด็กมีความจำเป็นต้องได้รับบริการพิเศษอะไรบ้าง
-การระบุความสามารถของเด็กในขณะปัจจุบัน
-เป้าหมายระยะยาวประจำปี / ระยะสั้น
ประโยชน์ต่อเด็ก
-ได้เรียนรู้ตามความสามารถของตน
-ได้มีโอกาสพัฒนาตามศักยภาพของตน
-ได้รับการศึกษาและฟื้นฟูอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม
-ถ้าเด็กเข้าเรียนในโรงเรียนจะไม่ถูกจัดเข้าชั้นเรียนเฉยๆ
ประโยชน์ต่อครู
-เป็นแนวทางการจัดการเรียนการสอนที่ตรงกับความสามารถและความต้องการของเด็ก
-เป็นแนวทางในการเลือกสื่อการสอนและวิธีการสอนให้เหมาะกับเด็ก
ประโยชน์ต่อผู้ปกครอง
-ได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนการเรียนรายบุคคล เพื่อให้เด็กได้
ขั้นตอนการจัดทำแผนการศึกษารายบุคคล
1. การรวบรวมข้อมูล
-รายงานทางการแพทย์
-รายงานการประเมินด้านต่างๆ
-บันทึกจากผู้ปกครอง ครู และผู้ที่เกี่ยวข้อง
2. การจัดทำแผน
-ประชุมผู้ที่เกี่ยวข้อง
-กำหนดจุดมุ่งหมายระยะยาวและระยะสั้น
-กำหนดโปรแกรมและกิจกรรม
การกำหนดจุดมุ่งหมาย
-ระยะยาว
-ระยะสั้น
3. การใช้แผน
-เมื่อแผนเสร็จสมบูรณ์ ครูจะนำไปใช้โดยจะใช้แผนระยะสั้น
นำมาทำเป็นจุดประสงค์เชิงพฤติกรรม
-แยกย่อยขั้นตอนการสอนให้เหมาะกับเด็ก
4. การประเมินผล
 -โดยทั่วไปจะประเมินภาคเรียนละครั้ง หรือย่อยกว่านั้น
-ควรมีการกำหนดวิธีการประเมิน และเกณฑ์วัดผล


 นอกจากนั้นทำงานกลุ่มโดยเขียนแผน IEP  โดยอาจารย์จะเดินดูและแนะนำอธิบายให้แต่ละกลุ่มได้เข้าใจจะได้เขียนออกมาถูกต้อง




พอเขียนแผนเสร็จก็สอบร้องเพลงทีละคน โดยอาจารย์จะให้จับฉลาก ดิฉันได้เพลง ลุงมา ชาวนา เลยเปลี่ยนเพลงได้เพลงมาโรงเรียน รู้สึกตื่นเต้น จำเนื้อเพลงยังไม่ค่อยได้แต่ก็รู้สึกดีที่ผ่านไปได้ด้วยดี



การนำไปใช้
1.สามารถนำเพลงทุกเพลงที่อาจารย์สอนร้องไปปรับใช้กับเด็กพิเศษได้ในชีวิตจริงเวลาออกฝึกสอน
2.สามารถรู้จักการเขียนแผน IEP ที่ถูกต้องและสามารถนำไปเขียนให้กับเด็กพิเศษได้


การประเมินผล
ประเมินตัวเอง
-วันนี้เขาเรียนช้า แต่ก็ทันอาจารย์สอนและตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกต่างๆที่อาจารย์สอนและได้รู้วิธีและเทคนิคในการเขียนแผน IEP ที่ถูกต้องที่สามารถนำไปใช้กับเด็กยังได้ฝึกร้องเพลงและสามารถนำไปปฏิบัติกับเด็กได้จริง

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆตั้งใจเรียนและช่วยกันคิดวางแผนการเขียนแผน IEP และสามารถทำงานออกมาสำเร็จตามเวลาและตั้งใจร้องเพลง เพื่อนบางคนอาจจะร้องเพลงไม่เพราะ ร้องผิดบ้าง ลืมเนื้อบ้าง แต่ก็สามารถร้องจนจบ

ประเมินอาจารย์
-สำหรับการเรียนครั้งสุดท้ายก่อนจะปิดภาคเรียนตลอดทั้งเทอมที่เรียนกับอาจารย์มาอาจารย์น่ารักและใจดีตลอด สอนสนุก มีกิจกรรมมาให้ทำตลอดทั้งคาบเพื่อให้นักศึกษาผ่อนคลายและมีคำแนะนำดีๆมาบอกและนำประสบการณ์ต่างๆมาเล่าให้นักศึกษาอาจารย์เข้าสอนตรงเวลาและสามารถแนะนำชี้แจงรายละเอียดต่างๆให้เข้าใจ สอนก็สนุกไม่เครียดสบายๆและยังได้สอนเทคนิคหลายๆอย่างให้กับนักศึกษา





วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 16

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 21 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่  16  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ความรู้ที่ได้รับ




อาจารย์เฉลยข้อสอบแต่ละข้อว่าควรจะตอบแบบไหนถึงจะถูกและตรงกับข้ออย่างเช่น ข้อที่1 คือการใส่ถุงเท้าจะต้องย่อยงานออกเป็นทีละขั้นตอน
-นั่งลง
-หยิบถุงเท้าขึ้นมา
-แล้วก็ม้วนถุงเท้า
-เอาปลายเท้าใส่เข้าไป
-ดึงถุงเท้าขึ้น
-แล้วก็พับถุงเท้าให้เรียบร้อย

 กิจกรรมผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน ทำให้รู้สึกมีความสุขในการเล่นและได้หัวเราะ

 การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
รื่องทักษะพื้นฐานทางการเรียน

1.เป้าหมาย
-การช่วยให้เด็กแต่ละคนเรียนรู้ได้
-มีความรู้สึกดีต่อตนเอง
-เด็กรู้สึก "ฉันทำได้"
-พัฒนาความกระตือรือร้น อยากรู้อยากเห็น
2.ช่วงความสนใจ
-ต้องมีก่อนการเรียนรู้อื่นๆ
-จดจ่อต่อกิจกรรมในช่วงเวลาหนึ่งได้นานพอสมควร
3.การเลียนแบบ
-คนรอบข้าง
-ครู
-คนที่โตกว่า
-เพื่อน
4.การทำตามคำสั่ง คำแนะนำ
-เด็กได้ยินสิ่งที่ครูพูดชัดหรือไม่
-เด็กเข้าใจคำศัพท์ที่ครูใช้หรือไม่
-คำสั่งยุ่งยากซับซ้อนไปหรือไม่
5.การรับรู้ การเคลื่อนไหว
-ได้ยิน เห็น สัมผัส ลิ้มรส กลิ่น
-ตอบสนองอย่างเหมาะสม
6.การควบคุมกล้ามเนื้อเล็ก
-การกรอกน้ำ ตวงน้ำ
-ต่อบล็อก
-ศิลปะ
-มุมบ้าน
 
รูปภาพกรรไกรที่เหมาะกับเด็กคือกรรไกรรูปที่ 1จับง่าย สบายมือ
ตัวอย่างอุปกรณ์สำหรับเด็กพิเศษ
-ลูกปัดไม้ขนาดใหญ่
-รูปต่อที่มีจำนวนชิ้นไม่มาก


7.ความจำ
-จาการสนทนา
-เมื่อเช้าหนูทานอะไร
8.ทักษะคณิตศาสตร์วิทยาศาสตร์
1.ทักษะการสังเกต
2.ทักษะการวัด
3.ทักษะการเปรียบเทียบ
4.ทักษะการจำแนก
5.ทักษะการจัดลำดับ
6.ทักษะการนับ
7.ทักษะการคำนวณ
8.ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปส และสเปสกับเวลา 

9.การวางแผนการเตรียมพื้นฐานทางวิชาการ
-จัดกลุ่มเด็ก
-เริ่มต้นเรียนรู้โดยใช้ช่วงเวลาสั้นๆ
-ให้งานเด็กแต่ละคนอย่างชัดเจนว่าต้องทำที่ไหน
-ติดชื่อเด็กตามที่นั่ง
-ใช้อุปกรณ์ที่เด็กคุ้นเคย
การนำไปใช้
1.สามารถนำทักษะคณิตศาสตร์และทักษะวิทยาศาสตร์ไปบรูณาเข้ากับการเรียนการสอนในเรื่องต่างๆได้เช่นการสังเกตเด็กและสถานการณ์ต่างๆ
2.สามารถนำความรู้ที่ได้ในการเรียนครั้งนี้ทั้งทางด้านทักษะพื้นฐานการเรียนของเด็กทั้งการเลียนแบบจากครูและเพื่อนที่จะนำไปใช้ในอนาคตต่อไป

การประเมินผล
ประเมินตนเอง
-วันนี้เข้าห้องเรียนก่อนเวลาเพื่อรอป้าแม่บ้านมาเปิดห้องและพอเข้าไปในห้องรู้สึกร้อนมากๆเลยคะ บรรยากาศไม่ค่อยอำนวย แอร์ก็ไม่เย็นแต่พออาจารย์ให้ทำกิจกรรมเพื่อผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน ทำให้รู้สึกดีขึ้น มีอารมณ์สนุกสนานในการเล่นเกม เรียนก็ตั้งใจจดบันทึกตามที่อาจารย์สอนตามชีทและจดเพิ่มเติมบ้างบางหัวข้อที่อาจารย์อธิบาย

ประเมินเพื่อน

-อากาศมันร้อนบวกกับแอร์ก็ไม่ค่อนเย็นเท่าไหร่ทำให้เพื่อนๆแต่ละคนรู้สึกไม่ดี แต่พออาจารย์ให้ทำกิจกรรมเพื่อก็ตั้งใจทำกันได้ผ่อนคลายบ้างและพอเรียนเพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและตั้งใจจดบันทึกตามที่อาจารย์อธิบายนอกเหนือจากในชีท

ประเมินอาจารย์

-อาจารย์เข้าสอนตรงเวลาแต่งกายสุภาพเรียบร้อยอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำทุกครั้งเลย ก่อนเข้าสู่บทเรียนทำให้นักศึกษารู้สึกผ่อนคลายมีอารมณ์ที่แจ่มใสก่อนจะเรียน พอเวลาอาจารย์สอนอาจารย์จะอธิบายและยกตัวอย่างเช่น สื่อ วัสดุอุปกรณ์หรือบทบาทสมมุติให้ดูเพื่อให้เข้าใจในแต่ละเรื่องมากขึ้น




วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 15

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 13 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่  15  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันสงกรานต์ของทุกปี






วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่14

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 6 เมษายน พ.ศ. 2558
ครั้งที่  14  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เนื่องจากเป็นวันจักรี





วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   30  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  13  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


หมายเหตุ : วันนี้เรียนศิลปะสร้างสรรค์ เรื่องการเขียนแผน







วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   23  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  12  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.



หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนสอนเนื่องจากสอบเก็บคะแนน 5 ข้อ 10 คะแนน 

ประเมินผล

ประเมินตัวเอง
-วันนี้ยังไม่พร้อมที่จะสอบเท่าไหร่คะ รู้สึกดดันกลัวตอบคำถามไม่ได้แต่เมื่ออาจารย์ให้ดูชีสได้ พร้อมที่จะทำข้อสอบเลยคะแต่อาจจะตอบไม่เข้าใจสักเท่าไหร่เพราะว่ายังงงกับข้อคำถามบางข้อแต่ก็หวังว่าที่เขียนและทำไปคงจะผ่านคะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา เพื่ออ่านชีสก่อนสอบ ช่วยกันติว และตั้งใจทำข้อสอบไม่ดูเพื่อนและไม่หลอกกัน

ประเมินอาจารย์
-เข้าสอนตรงเวลาคะ อาจารย์ใจดีขนาดสอบยังดูชีสได้และมีคำแนะนำที่ดี



วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   16  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  11  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ความรู้ที่ได้รับ




 - อาจารย์นำกิจกรรมมาให้เล่นเพื่อผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน ทำให้ได้เสียงหัวเราะและตื่นเต้นลุ้นในการทำกิจกรรมและมีความสุขสนุกในการเล่นทุกครั้ง
วันนี้เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

 วันนี้เรียนเรื่องทักษะการช่วยเหลือตนเอง

-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่
 
-การเข้าห้องน้ำ
 
-การแต่งตัว
 
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”


ทักษะการช่วยเหลือตนเองของแต่ละช่วงอายุ
(2-3ปี)
(3-4 ปี)


(4-5ปี)
  (5-6ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
-การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม      
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล  

เพลง




กิจกรรมสุดท้ายงานศิลปะ
(งานเดี่ยว)

อุปกรณ์ในการทำ 

1.กระดาษปอนด์
2.สีเทียน
3.กรรไกร
4.เทปใส

วาดเป็นจุดกลมๆตามสี


เสร็จสมบรูณ์




ต้นไม้แสนสวย
ช่วยในการบ่งบอกนิสัยของแต่ละคน ว่ามีความอ่อนโยน มั่นใจ แค่ไหนและฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ การสร้างสรรค์งานและจินตนาการ


การนำไปใช้
1.สามารถนำการฝึกทำจุดวงกลมไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้โดยให้เด็กได้สร้างสรรค์และจินตนาการ
2.สามารถนำจุดเล็กๆของเด็กพิเศษแม้กระทั่งการเข้าห้องน้ำไปใช้กับเด็กเมื่อเราไปเจอสถานการณ์จริงเวลาออกไปฝึกสอน
3.จะนำเพลงที่ได้ไปฝึกร้องให้คล่องและจะได้นำไปปรับใช้กับเด็กในการบำบัดเด็ก

การประเมินผล

การประเมินตัวเอง
-วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตั้งใจร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์และชอบเวลาอาจารย์นำกิจกรรมมาให้เล่นก่อนเข้าสู่บทเรียนเพราะว่าจะทำให้ผ่อนคลายเกิดความสนุกและอารมณ์ดีก่อนเรียนและกิจกรรมที่ทำทุกชิ้นที่อาจารย์ให้ทำตั้งใจทำมากๆและเพลงจะนำไปฝึกร้องให้คล่องและมีบางอย่างที่เสียใจและเสียดายคือ อาจารย์บอกว่าอาจารย์จะไม่ได้อยู่ในสาขาแล้ว คือความรู้สึกนี้มันรู้สึกเสียใจที่อาจารย์จะไป ไม่อยากให้ไปเลยเพราะอาจารย์เป็นคนน่ารักและมีอะไรก็บอกกล่าวและแนะนำตลอด

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลาเป็นส่วนมากแต่มีเพื่อนบางคนมาไม่ตรงเวลาแต่อาจารย์ก็ไม่ว่า เพื่อนชอบๆที่อาจารย์ให้ทำกิจกรรมก่อนเข้าเรียน เพื่อนๆมีความสุขกันมากๆเลยคะ และเพื่อนๆคงเสียดายและเสียใจเรื่องอาจารย์ที่จะย้ายไปสาขาอื่น

ประเมินอาจารย์
-วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีเทคนิคการสอนที่ละเอียดและมีสื่อหรือ Powerpoint มาเป็นสื่อในการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและมีตารางรูปภาพต่างๆให้นักศึกษาดูทำให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนและสนุกกับการเรียนวิชานี้