บันทึกอนุทิน
วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี 26 มกราคม พ.ศ. 2558
ครั้งที่ 4 เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.
ความรู้ที่ได้รับ
-วันนี้อาจารย์เบียร์ให้ทำกิจกรรมก่อนเข้าสู่บทเรียนโดยอาจารย์แจกกระดาษคนละแผ่น สี กบเหลา คนละอันจากนั้นอาจารย์ให้วาดรูปดอกบัวตามโปรเจ็กเตอร์ฉายโดยดอกบัวเป็นสีชมพูมีกลีบ 14 กลีบ มีเกสรเป็นสีเหลือง
อาจารย์เบียร์อธิบายขั้นตอนการวาดภาพ
อุปกรณ์ในการวาด
"ผลงานของดิฉัน"
โดยอธิบายสิ่งที่เห็นว่า: คือเห็นดอกบัวกำลังผลิบานออกมาสวยงามก็เปรียบดั่งชีวิตคนที่จะมีอะไรดีเข้ามาในชีวิตและชีวิตกำลังจะเดินไปและใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
วันนี้เรียนเรื่อง บทบาทครูปฐมวัยในห้องเรียนรวม
ครูไม่ควรวินิจฉัย
-การวินิจฉัย
หมายถึงการตัดสินใจโดยดูจากอาการหรือสัญญาณบางอย่าง
-จากอาการที่แสดงออกมานั้นอาจนำไปสู่ความเข้าใจผิดได้
ครูไม่ควรตั้งชื่อหรือระบุประเภทเด็ก
-เกิดผลเสียมากกว่าผลดี
-ชื่อเปรียบเสมือนตราประทับตัวเด็กตลอดไป
-เด็กจะกลายเป็นเช่นนั้นจริงๆ
-พ่อแม่ของเด็กพิเศษ
มักทราบดีว่าลูกของเขามีปัญหา
-พ่อแม่ไม่ต้องการให้ครูมาย้ำในสิ่งที่เขารู้อยู่แล้ว
-ครูควรพูดในสิ่งที่เป็นความคาดหวังในด้านบวก
แต่ต้องไม่ให้เกิดความหวังผิดๆ
-ครูควรรายงานผู้ปกครองว่าเด็กทำอะไรได้บ้าง
เท่ากับเป็นการบอกว่าเด็กทำอะไรไม่ได้
-ครูช่วยให้ผู้ปกครองมีความหวังและเห็นแนวทางที่จะช่วยให้เด็กพัฒนา
ครูทำอะไรบ้าง
-ครูสามารถชี้ให้เห็นถึงพฤติกรรมของเด็กในเรื่องที่เกี่ยวกับพัฒนาการต่างๆ
-ให้ข้อแนะนำในการหาบุคลากรที่เหมาะสมในการประเมินผลหรือวินิจฉัย
-สังเกตเด็กอย่างมีระบบ
-จดบันทึกพฤติกรรมเด็กเป็นช่วงๆ
สังเกตอย่างมีระบบ
-ไม่มีใครสามารถสังเกตอย่างมีระบบได้ดีกว่าครู
-ครูเห็นเด็กในสถานการณ์ต่างๆ
ช่วงเวลายาวนานกว่า
-ต่างจากแพทย์
นักจิตวิทยา นักคลินิก มักมุ่งความสนใจอยู่ที่ปัญหา
การตรวจสอบ
-จะทราบว่าเด็กมีพฤติกรรมอย่างไร
-เป็นแนวทางสำคัญที่ทำให้ครูและพ่อแม่เข้าใจเด็กดีขึ้น
-บอกได้ว่าเรื่องใดบ้างที่เด็กต้องการความช่วยเหลือ
ข้อควรระวังในการปฏิบัติ
-ครูต้องไวต่อความรู้สึกและตัดสินใจล่วงหน้าได้
-ประเมินให้น้ำหนักความสำคัญของเรื่องต่างๆได้
-พฤติกรรมบางอย่างของเด็กไม่ได้ปรากฏให้เห็นเสมอไป
การบันทึกการสังเกต
-การนับอย่างง่ายๆ
-การบันทึกต่อเนื่อง
-การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-นับจำนวนครั้งของการเกิดพฤติกรรม
-กี่ครั้งในแต่ละวัน
กี่ครั้งในแต่ละชั่วโมง
-ระยะเวลาในการเกิดพฤติกรรม
การบันทึกต่อเนื่อง
-ให้รายละเอียดได้มาก
-เขียนทุกอย่างที่เด็กทำในช่วงเวลาหนึ่ง
หรือช่วงกิจกรรมหนึ่ง
-โดยไม่ต้องเข้าไปแนะนำช่วยเหลือ
การบันทึกไม่ต่อเนื่อง
-บันทึกลงบัตรเล็กๆ
ตัวอย่าง
การเกิดพฤติกรรมบางอย่างมากเกินไป
-ควรเอาใจใส่ถึงระดับความมากน้อยของความบกพร่อง
มากกว่าชนิดองความบกพร่อง
-พฤติกรรมไม่เหมาะสมที่พบได้ในเด็กทุกคน
ไม่ควรจัดเป็นสิ่งผิดปกติ
การตัดสินใจ
-ครูต้องตัดสินใจด้วยความระมัดระวัง
-พฤติกรรมของเด็กที่เกิดขึ้น
ไปขัดขวางความสามารถในการเรียนรู้ของเด็กหรือไม่
ตัวอย่าง
จากนั้นอาจารย์แจกชีคเพลง
เพลง
การนำไปใช้
1. สามารถนำเพลงฝึกการบริหารไปประยุกต์ใช้กับเด็กได้เวลาสอนหน่วย ร่างกาย
2.สามารถนำบทบาทและหน้าที่ของครูไปใช้กับเด็กเวลาเราออกฝึกสอนหรือประกอบอาชีพข้าราชการในอนาคต
3.สามารถรู้ว่าเราไม่ควรนำจุดด้อยของเด็กไปเล่าให้ผู้ปกครองฟังเพราะอาจจะเกิดผลเสียกับเรา
การประเมินผล
ประเมินตัวเอง
-วันนี้แต่งกายมาถูกระเบียบเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาและตั้งใจวาดรูปให้ออกมาเหมือนดอกบัวที่สุดและตั้งใจเรียนตั้งใจทำกิจกรรมที่ได้รับมอบหมายให้เสร็จทันเวลาที่อาจารย์กำหนดตั้งใจร้องเพลงเสียงอาจจะไม่เพราะแต่ก็ตั้งใจที่จะร้องให้ออกมาดีที่สุดค่ะ
ประเมินเพื่อน
-อันดับแรกเลยเพื่อนบางคนก็แต่กายไม่ค่อยถูกระเบียบ แต่ส่วนใหญ่ถูกระเบียบ เพื่อนๆบางคนก็มาสายบ้าง แต่ก็ทันทำกิจกรรมภายในห้องเรียน เพื่อนๆตั้งใจวาดภาพดอกบัวมากและบางคนก็เหมือนและสวยงามและเพื่อนๆก็ตั้งใจเรียนและจดบันทึกตามที่อาจารย์บอกละเอียดและช่วยกันร้องเพลงทำให้ผลออกมาดีค่ะ
ประเมินอาจารย์
-วันนี้อาจารย์เข้าห้องเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อยเหมาะเป็นแบบอย่างของครู และอาจารย์ยังมีเทคนิคการสอนที่ละเอียดและเข้าใจทำให้ดิฉันไม่เครียดค่ะ มีการยกตัวอย่างหรือแสดงพฤติกรรมให้เห็นถึงบทบาทการเป็นครูและการดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างไร การบันทึกถึงพฤติกรรมเด็กและการสังเกตอย่างรอบคอบโดยครูจะต้องบันทึกตลอดไม่ใช่แค่บันทึกครั้งเดียวส่งและข้อควรระวังในการเป็นครูไม่ควรไปพูดจุดด้อยของเด็กให้ผู้ปกครองฟังอาจจะเกินผลเสียกับเราได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น