วันจันทร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 13

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   30  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  13  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.


หมายเหตุ : วันนี้เรียนศิลปะสร้างสรรค์ เรื่องการเขียนแผน







วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 12

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   23  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  12  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.



หมายเหตุ : วันนี้ไม่มีการเรียนสอนเนื่องจากสอบเก็บคะแนน 5 ข้อ 10 คะแนน 

ประเมินผล

ประเมินตัวเอง
-วันนี้ยังไม่พร้อมที่จะสอบเท่าไหร่คะ รู้สึกดดันกลัวตอบคำถามไม่ได้แต่เมื่ออาจารย์ให้ดูชีสได้ พร้อมที่จะทำข้อสอบเลยคะแต่อาจจะตอบไม่เข้าใจสักเท่าไหร่เพราะว่ายังงงกับข้อคำถามบางข้อแต่ก็หวังว่าที่เขียนและทำไปคงจะผ่านคะ

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนเข้าเรียนตรงเวลา เพื่ออ่านชีสก่อนสอบ ช่วยกันติว และตั้งใจทำข้อสอบไม่ดูเพื่อนและไม่หลอกกัน

ประเมินอาจารย์
-เข้าสอนตรงเวลาคะ อาจารย์ใจดีขนาดสอบยังดูชีสได้และมีคำแนะนำที่ดี



วันศุกร์ที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 11

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย

อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   16  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  11  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.

ความรู้ที่ได้รับ




 - อาจารย์นำกิจกรรมมาให้เล่นเพื่อผ่อนคลายก่อนเข้าสู่บทเรียน ทำให้ได้เสียงหัวเราะและตื่นเต้นลุ้นในการทำกิจกรรมและมีความสุขสนุกในการเล่นทุกครั้ง
วันนี้เรียนเรื่องการส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษต่อจากสัปดาห์ที่แล้ว

 วันนี้เรียนเรื่องทักษะการช่วยเหลือตนเอง

-เรียนรู้การดำรงชีวิตโดยอิสระให้มากที่สุด
-การกินอยู่
 
-การเข้าห้องน้ำ
 
-การแต่งตัว
 
-กิจวัตรต่างๆในชีวิตประจำวัน
การสร้างความอิสระ
-เด็กอยากช่วยเหลือตนเอง
-อยากทำงานตามความสามารถ
-เด็กเลียนแบบการช่วยเหลือตนเองจากเพื่อน เด็กที่โตกว่า และผู้ใหญ่
ความสำเร็จเป็นสิ่งสำคัญ
-การได้ทำด้วยตนเอง
-เชื่อมั่นในตนเอง
-เรียนรู้ความรู้สึกที่ดี
หัดให้เด็กทำเอง
-ไม่ช่วยเหลือเกินความจำเป็น (ใจแข็ง)
-ผู้ใหญ่มักทำสิ่งต่างๆให้เด็กมากเกินไป
-ทำให้แม้กระทั่งสิ่งที่เด็กสามารถทำได้เองหากให้เวลาเขาทำ
“ หนูทำช้า ”  “ หนูยังทำไม่ได้ ”


ทักษะการช่วยเหลือตนเองของแต่ละช่วงอายุ
(2-3ปี)
(3-4 ปี)


(4-5ปี)
  (5-6ปี)


ลำดับขั้นในการช่วยเหลือตนเอง
-แบ่งทักษะการช่วยเหลือตนเองออกเป็นขั้นย่อยๆ
-เรียงลำดับตามขั้นตอน
-การเข้าส้วม
-เข้าไปในห้องส้วม      
-ดึงกางเกงลงมา
-ก้าวขึ้นไปนั่งบนส้วม
-ปัสสาวะหรืออุจจาระ
-ใช้กระดาษชำระเช็ดก้น
-ทิ้งกระดาษชำระในตะกร้า
-กดชักโครกหรือตักน้ำราด
-ดึงกางเกงขึ้น
-ล้างมือ
-เช็ดมือ
-เดินออกจากห้องส้วม
สรุป
-ครูต้องพยายามให้เด็กทำสิ่งต่างๆด้วยตนเอง
-ย่อยงานแต่ละอย่างเป็นขั้นๆ
-ความสำเร็จขั้นเล็กๆนำไปสู่ความสำเร็จทั้งมวล  

เพลง




กิจกรรมสุดท้ายงานศิลปะ
(งานเดี่ยว)

อุปกรณ์ในการทำ 

1.กระดาษปอนด์
2.สีเทียน
3.กรรไกร
4.เทปใส

วาดเป็นจุดกลมๆตามสี


เสร็จสมบรูณ์




ต้นไม้แสนสวย
ช่วยในการบ่งบอกนิสัยของแต่ละคน ว่ามีความอ่อนโยน มั่นใจ แค่ไหนและฝึกการใช้กล้ามเนื้อมือ การสร้างสรรค์งานและจินตนาการ


การนำไปใช้
1.สามารถนำการฝึกทำจุดวงกลมไปปรับใช้กับเด็กในอนาคตได้โดยให้เด็กได้สร้างสรรค์และจินตนาการ
2.สามารถนำจุดเล็กๆของเด็กพิเศษแม้กระทั่งการเข้าห้องน้ำไปใช้กับเด็กเมื่อเราไปเจอสถานการณ์จริงเวลาออกไปฝึกสอน
3.จะนำเพลงที่ได้ไปฝึกร้องให้คล่องและจะได้นำไปปรับใช้กับเด็กในการบำบัดเด็ก

การประเมินผล

การประเมินตัวเอง
-วันนี้แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและตั้งใจร่วมทำกิจกรรมกับอาจารย์และชอบเวลาอาจารย์นำกิจกรรมมาให้เล่นก่อนเข้าสู่บทเรียนเพราะว่าจะทำให้ผ่อนคลายเกิดความสนุกและอารมณ์ดีก่อนเรียนและกิจกรรมที่ทำทุกชิ้นที่อาจารย์ให้ทำตั้งใจทำมากๆและเพลงจะนำไปฝึกร้องให้คล่องและมีบางอย่างที่เสียใจและเสียดายคือ อาจารย์บอกว่าอาจารย์จะไม่ได้อยู่ในสาขาแล้ว คือความรู้สึกนี้มันรู้สึกเสียใจที่อาจารย์จะไป ไม่อยากให้ไปเลยเพราะอาจารย์เป็นคนน่ารักและมีอะไรก็บอกกล่าวและแนะนำตลอด

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆมาเรียนตรงเวลาเป็นส่วนมากแต่มีเพื่อนบางคนมาไม่ตรงเวลาแต่อาจารย์ก็ไม่ว่า เพื่อนชอบๆที่อาจารย์ให้ทำกิจกรรมก่อนเข้าเรียน เพื่อนๆมีความสุขกันมากๆเลยคะ และเพื่อนๆคงเสียดายและเสียใจเรื่องอาจารย์ที่จะย้ายไปสาขาอื่น

ประเมินอาจารย์
-วันนี้อาจารย์เข้าสอนตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อยมีเทคนิคการสอนที่ละเอียดและมีสื่อหรือ Powerpoint มาเป็นสื่อในการสอนเพื่อให้นักศึกษาเข้าใจมากขึ้นและมีตารางรูปภาพต่างๆให้นักศึกษาดูทำให้เกิดความเข้าใจในบทเรียนและสนุกกับการเรียนวิชานี้





วันพุธที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 10

บันทึกอนุทิน


วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   9  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  10  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.
ความรู้ที่ได้รับ

การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ
 ทักษะภาษา
การวัดความสามารถทางภาษา
-เข้าใจสิ่งที่ผู้อื่นพูดไหม
-ตอบสนองเมื่อมีคนพูดด้วยไหม
-ถามหาสิ่งต่างๆไหม

การออกเสียงผิด / พูดไม่ชัด
-การพูดตกหล่น
-การใช้เสียงหนึ่งแทนอีกเสียง
-ติดอ่าง

การปฏิบัติของครูและผู้ใหญ่
-ไม่สนใจการพูดซ้ำหรือการออกเสียงไม่ชัด
-ห้ามบอกเด็กว่า  พูดช้าๆ”   “ตามสบาย”   “คิดก่อนพูด
-อย่าขัดจังหวะขณะเด็กพูด
-อย่าเปลี่ยนการใช้มือข้างที่ถนัดของเด็ก
-ไม่เปรียบเทียบการพูดของเด็กกับเด็กคนอื่น
-เด็กที่พูดไม่ชัดอาจเกี่ยวข้องกับการได้ยิน

ทักษะพื้นฐานทางภาษา
-ทักษะการรับรู้ภาษา
-การแสดงออกทางภาษา
-การสื่อความหมายโดยไม่ใช้คำพูด

ความรับผิดชอบของครูปฐมวัย
-การรับรู้ภาษามาก่อนการแสดงออกทางภาษา
-ภาษาที่ไม่ใช่คำพูดมาก่อนภาษาพูด
-ให้เวลาเด็กได้พูด
-คอยให้เด็กตอบ (ชี้แนะหากจำเป็น)
-เป็นผู้ฟังที่ดีและโตต้อบอย่างฉับไว (ครูไม่พูดมากเกินไป)
-เด็กไม่ได้เรียนรู้ภาษาจากการฟังเพียงอย่างเดียว


การสอนตามเหตุการณ์

(Incidental Teaching)






กิจกรรมบำบัดเด็กพิเศษ(งานคู่ ) -คล้ายกับงานครั้งที่แล้วที่เอาดนตรีมาบำบัดเด็กแต่งานชิ้นนี้ให้วาดรูปเส้นตรงทั้ง 2 คน และระบายตามช่องสีเหลี่ยมที่ตัดกันจากนั้นเด็กจะได้เรื่อง 1.การมีสมาธิ 2.มิติสัมพันธ์ 3.ด้านสังคม 4. การแสดงออก 5.ภาษา เป็นต้นและแต่ละรูปที่วาดและระบายออกมาจะบ่งบอกนิสัยของเด็กแต่ละคนที่ทำคู่กันว่ามีจิตใจอย่างไร


ภาพร่าง



ระบายตามช่อง



ผลงาน
เป็นคนมีระเบียบ เรียบร้อย


ผลงานเพื่อนๆ


การนำไปใช้

1.สามารถนำเทคนิคการสอนที่ดูจากวีดีโอที่สอนเด็กพิเศษนำไปปรับและประยุกต์ใช้กับเด็กได้เวลาเราไปฝึกสอน
2.นำประสบการณ์และเรื่องราวต่างๆในการสอบบรรจุของรุ่นพี่และการเตรียมตัวสอบว่าจะต้องอ่านวิชาใดบ้างที่อาจารย์บอกนำไปปรับใช้กับตัวเองเมื่อจบการศึกษาจะต้องเริ่มอ่านหนังสือตั้งแต่ ปี 4 จะได้เตรียมความพร้อมที่จะไปสอบบรรจุ
3.สามารถนำกิจกรรมงานคู่ที่อาจารย์ให้ทำไปบำบัดกับเด็กได้ทำให้เด็กเกิดทั้งสมาธิและสามารถเข้าร่วมกับสังคมได้

การประเมินผล

ประเมินตัวเอง
-วันนี้แต่งกายถูกระเบียบเรียบร้อย มาเรียนตรงเวลาคะ ตั้งใจดูตัวอย่างวีดีโอการจัดกิจกรรมให้กับเด็กพิเศษและได้แนวทางและเป็นประสบการณ์ที่ดีในการนำไปประยุกต์ใช้กับเด็ก และตั้งใจฟังอาจารย์สอนและร่วมทำกิจกรรมกับเพื่อนจนงานเสร็จสมบูรณ์

ประเมินเพื่อน
-เพื่อนๆมีความสุขและสนุกในการเรียนมากเลยคะวันนี้ เพราะว่าอาจารย์มีการนำกิจกรรมมากระตุ้นในการเรียนครั้งนี้ ทำให้เพื่อนอยากเรียนและสนใจที่จะเรียนตั้งใจฟังอาจารย์สอนและไม่ค่อยพูดจากับเพื่อนมีการถามตอบกับอาจารย์และทำกิจกรรมอย่างมีความสุขและผลงานออกมาสวยงาม


ประเมินอาจารย์
-วันนี้อาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำแต่กิจกรมนี้เปลี่ยนไปเที่ยวสวนสัตว์แทน 555  เป็นกิจกรรมที่ลุ้นมากว่าผลเฉลยจะออกมาแบบไหน ทำให้มีความสนุกสนานมีสีสันก่อนเรียนมากขึ้นและอาจารย์ได้นำตัวอย่างวีดีโอมาให้ดูก่อนเข้าสู่บทเรียนของการบำบัดเด็ก มีการสอนที่ดีและมีกิจกรรมหลายๆอย่าง เช่นการโยนลูกบอล ไปมาและการเคลื่อนไหวต่างๆและอาจารย์มีการยกตัวอย่างเด็กให้ฟังเวลาเรียนทำให้เข้าใจในบทเรียนมากขึ้นและตอนท้ายคาบก็มีการถามคำถามและทบทวนเรื่องที่เรียนมา








วันพุธที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2558

เรียนครั้งที่ 9

บันทึกอนุทิน



วิชา การจัดการศึกษาแบบเรียนรวมสำหรับเด็กปฐมวัย
อาจารย์ผู้สอน อาจารย์ตฤณ   แจ่มถิ่น
วัน/เดือน/ปี   3  มีนาคม  พ.ศ. 2558
ครั้งที่  9  เวลาเรียน 12.20 น. เวลาเข้าสอน 12.20 น. เวลาเลิกเรียน 15.50 น.



ความรู้ที่ได้รับ

 -วันนี้ก่อนเข้าบทเรียนอาจารย์เบียร์มีกิจกรรมมาให้ทำ  เพื่อผ่อนคลายสมองและได้หัวเราะและมีอารมณ์ที่ดี


      



การส่งเสริมทักษะต่างๆของเด็กพิเศษ

1.  ทักษะทางสังคม
-เด็กพิเศษที่ขาดทักษะทางสังคม ไม่ได้มีสาเหตุมาจากการพ่อแม่
-การอยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเด็กจะมีพัฒนาการต่างๆอย่างมีความสุข

กิจกรรมการเล่น         
-การเล่นเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งต่อการเรียนรู้ทักษะทางสังคม
-เด็กจะสนใจกันเองโดยอาศัยการเล่นเป็นสื่อ
-ในช่วงแรกๆ เด็กจะไม่มองเด็กคนอื่นเป็นเพื่อน  แต่เป็นอะไรบางอย่างที่น่าสำรวจ สัมผัส ผลัก ดึง

ยุทธศาสตร์การสอน
-เด็กพิเศษหลายๆคนไม่รู้วิธีเล่น  ไม่รู้ว่าจะเล่นอย่างไร
-ครูเริ่มต้นจากการสังเกตเด็กแต่ละคนอย่างเป็นระบบ
-จะบอกได้ว่าเด็กมีทักษะการเล่นแบบใดบ้าง
-ครูจดบันทึก
-ทำแผน IEP

การกระตุ้นการเลียนแบบและการเอาอย่าง
-วางแผนกิจกรรมการเล่นไว้หลายๆอย่าง
-คำนึงถึงเด็กทุกๆคน
-ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่มเล็กๆ 2-4 คน
-เด็กปกติทำหน้าที่เหมือน ครูให้เด็กพิเศษ

ครูปฏิบัติอย่างไรขณะเด็กเล่น
-อยู่ใกล้ๆ และเฝ้ามองอย่างสนใจ
-ยิ้มและพยักหน้าให้ ถ้าเด็กหันมาหาครู
-ไม่ชมเชยหรือสนใจเด็กมากเกินไป
-เอาวัสดุอุปกรณ์มาเพิ่ม เพื่อยืดเวลาการเล่น



การให้แรงเสริมทางสังคมในบริบทที่เด็กเล่น
-ครูพูดชักชวนให้เด็กร่วมเล่นกับเพื่อน
-ทำโดย การพูดนำของครู






ช่วยเด็กทุกคนให้รู้กฎเกณฑ์
-ไม่ง่ายสำหรับเด็กพิเศษ
-การให้โอกาสเด็ก
-เด็กพิเศษต้องเรียนรู้สิทธิต่างๆเหมือนเพื่อนในห้อง
-ครูต้องไม่ใช้ความบกพร่องของเด็กพิเศษเป็นเครื่องต่อรอง


กิจกรรมที่ 2





กิจกรรมที่ 3 

-จากนั้นอาจารย์ก็ให้แบ่งกลุ่ม กันกลุ่มละ 2 คนเพื่อทำกิจกรรม โดยกิจกรรมนี้สามารถบำบัดเด็กได้โดยฟังเสียงดนตรีพร้อมให้เพื่อน 1 คนเป็นคนวาดเส้น อีกเพื่อน 1 คนเป็นคนจุด เมื่อเพื่อนลากเส้นเป็นวงกลมก็ให้จุดใหญ่จุดเล็กตามจังหวะเสียงดนตรีที่เราได้ยินจากนั้นพอดนตรีจบ ก็ดูภาพที่ตัวเองลากและจุดจากนั้นจินตนาการวาดรูปเป็นสิ่งต่างๆที่ตัวเองกับเพื่อนเห็น 
กิจกรรมที่ฝึก
-ฝึกสมาธิ
-ทักษะทางด้านสังคม
-สังเกต
-จินตนาการ
และข้อที่สำคัญ เพลงที่เอามาบำบัดเด็กจะต้องไม่มีเสียงร้องของนักร้อง มีแต่เสียงดนตรีที่ผ่อนคลาย



อุปกรณ์


ลากเส้นและจุด

 เพื่อนรักในป่า


การนำไปใช้
1.สามารถนำกิจกรรมที่ได้ทำกับเพื่อนการบำบัดเด็กไปปรับใช้กับเด็กพิเศษในอนาคต
2.สามารถนำเพลงมาฝึกร้องให้เข้าจังหวะและไพเราะมากขึ้น


การประเมินผล

ประเมินตัวเอง 
-วันนี้รู้สึกเมื่อยมากเลยคะ รู้สึกง่วงนอนเพราะเมื่อเช้าเล่นเกมมาวิชาลูกเสือ แต่พอมารอเรียนและวิชาอาจารย์ก่อนที่จะเข้าบทเรียนอาจารย์มีกิจกรรมมาให้ทำ เพื่อผ่อนคลายและได้เกิดความสนุกสนานพอถึงทำกิจกรรมเสร็จก็ตั้งใจเรียน ตั้งใจฟังอาจรย์สอนและตั้งใจทำกิจกรรมกับเพื่อน

ประเมินเพื่อน
-วันนี้เพื่อนแต่ละคนหน้าตารู้สึกเหนื่อยและก็เมื่อยมากเพราะว่าเล่นเกมตั้งแต่ตอนเช้าเป็นเพราะอากาศด้วยร้อนเกินจนทำให้บางคนรู้สึกง่วงๆ แต่พออาจารย์เบียร์ให้ทำกิจกรรมรู้สึกดีขึ้นมาเลยเพราะว่าได้หัวเราะ

ประเมินอาจารย์
-อาจารย์เบียร์มีการนำกิจกรรมมาสอดแทรกหรือกระตุ้นก่อนที่จะเรียนทำให้ไม่น่าเบื่อ สนุกในการเรียนแต่ละครั้งและมีเทคนิคการสอนการพูดคุยและการสอบถามกับเพื่อนและเวลาทำกิจกรรมอาจารย์จะอธิบายและเข้าไปดูและพูดคุยในการทำกิจกรรมทำให้รู้สึกดีและมีความเข้าใจในการทำกิจกรรมมากขึ้น